วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

หน้าปกรายยงาน

รายงาน
วิชาเทคโนโลยี
เรื่อง
การสื่อสารข้อมูล
จัดทำโดย
1.นายณัฐสุชา รัศมีแจ่ม ชั้น ม.4/7 เลขที่ 5
2.นาย ปรีชา ขันทนันคำ ชั้น ม.4/7 เลขที่ 15
 3.นายสารสิน สังวาลย์ ชั้น ม.4/7 เลขที่ 25
      4.นายภานุวัฒน์ ล้อมวนวงศ์ ชั้น ม.4/7 เลขที่ 35
     5.นางสาวกตัญชลี ดวงแก้ว ชั้น ม.4/7 เลขที่ 45   
 6.นายนพรุจ โตงิว  ชั้น ม.4/7 เลขที่ 55

นำเสนอ
มาสเตอร์ ณัฐพงศ์ หอมอ่อน

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยี

คำนำ

คำนำ
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์ ในรายงานมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลมีข้อมูลย่อยๆดังนี้ นิยามของการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์,องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล,บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล,นิยามของการส่งข้อมูลและลักษณะการทำงาน,รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล คณะผู้จัดทำทำรายงานนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการสื่อสารข้อมูลเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลในรายงานนี้
ถ้าคณะผู้จัดทำทำอะไรผิดพลาดขออภัยมา ณ ที่นี้



                                       
คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

สารบัญ

                                 เนื้อหา                                                                                                            หน้า

นิยามของการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์                                             1
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล                                         2

บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล                                                3
นิยามของการส่งข้อมูลและลักษณะการทำงาน                                            4
รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล                                                                5

1.นิยามของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หน้า 1

1
1.นิยามของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลหรือสารสนเทศจากต้นทาง (Source) ไปยังปลายทาง (Destination) ซึ่งระบบการสื่อสารส่วนใหญ่มักจะหมายถึงระยะทาง (Distance) ระหว่างคอมพิวเตอร์และอาจข้องเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ และวิทยุทัศน์ และหากเป็นระบบการสื่อสารในวงกว้างก็จะมีความซับซ้อนสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจมีการรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ประกอบ ข้อความ เสียง วิดีโอ ที่โอนถ่ายกันบนสายสื่อสาร เช่น สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสื่อไร้สายอย่างคลื่นวิทยุ และไมโครเวฟ สำหรับเส้นทางของการสื่อสารอาจจะเดินทางผ่านข้ามประเทศ ข้ามทวีป ผ่านใต้ทะเลมหาสมุทร โดยอาจมีการใช้ทั้งสื่อแบบมีสายและไร้สายร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลต้นฉบับที่ส่งไป ซึ่งเดิมอยู่ในรูปแบบของสัญญาณเสียงหรือสัญญาณแอนะล็อก ก็อาจจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการเดินทางในระยะไกล ๆ บนสายดิจิตอลความเร็วสูง และท้ายสุดเมื่อสัญญาณเดินทางไปถึงปลายทางก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อให้เหมือนกับ ต้นฉบับข้อมูลที่ส่งมาเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ โดยมีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่ายซึ่งอาจอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้กัน หรืออาจอยู่ต่างบริเวณที่มีระยะทางไกลกันออกไปแต่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายจะทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ตัวอย่างเช่น การดำเนินธุรกรรมกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น การฝากเงิน การถอนเงิน การตรวจสอบยอดบัญชี สิ่งเหล่านี้สามารถดำเนินการได้โยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังธนาคาร แต่สามารถดำเนินธุรกรรมดังกล่าวได้ผ่านเครื่องบริการเงินด่วนหรือเครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งเราอาจใช้บริการอยู่ภายในจังหวัดหรือต่างจังหวัดที่ห่างไกลกันก็ได้ ก็เพราะว่าเครื่องเอทีเอ็มเหล่านี้ได้ มีการเชื่อมต่อออนไลน์กันในลักษณะเครือข่าย ทำให้สามารถสื่อสารและใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้นั่นเอง
ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
1.     สัญญาณแบบอนาล็อก (Analog signal) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
2.   สัญญาณแบบดิจิทัล (Digital)จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุดดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาล็อก เนื่องจาก
2
มีการใช้งานค่าสองค่าเพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ 0 / 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล ในการติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่านตัวกลางนั้น สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1           แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้
2.2 แบบกึ่งสองทิศทาง (Half duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น
2.3 แบบสองทิศทาง (Full duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป สื่อกลาง ( Media ) สื่อกลาง ( Media ) หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ทำ
หน้าที่ส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารจากฝั่งผู้ส่งไปยังผู้รับ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source)
2. ผู้รับสาร (Receiver) หรือ จุดหมายปลายทางข่าวสาร (Target)
3. สาร ( Message ) ซึ่งในปัจจุบันมักพบเห็นในรูปของสื่อประสม ( multimedia ) ที่อาจมีทั้งลักษณะที่เป็นข้อความตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
4. สื่อกลาง ( Media )
5. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software ) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง กฎระเบียบมาตรฐาน หรือข้อกำหนด ขั้นตอน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถสื่อการกันได้เข้าใจ ซอฟต์แวร์ ( Software ) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น โปรแกรมรับส่งอีเมล์
สรุป
นิยามของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลหรือสารสนเทศจากต้นทาง
ไปยังปลายทางผ่านใต้มหาสมุทรด้วยความเร็วเกี่ยวข้องกับระบบโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ
ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
1.แบบอนาล็อก  จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย
2.สัญญาณแบบดิจิทัล จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุดสามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
แบบทิศทางเดียว เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้
แบบกึ่งสองทิศทาง เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้
แบบสองทิศทาง เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ทั่ว ๆ

2.องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ หน้า 2

2
2.องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน

2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิด ขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)   
องค์ประกอบพื้นฐาน
1.หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
3.หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
สรุป
                การสื่อสารข้อมูลคือการ ส่งข้อมูลข่าวสารให้คนอื่น โดยผ่านคอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดั้นนั้นเราจึงต้องมีการจัด องค์ประกอบการพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล  ออกมาได้ดั้งนี้ ผู้ส่งข่าวสาร เข้ารหัสเพื่อให้ตรงกับผู้รับข้อมูล ส่งทางช่องสัญญาณ แต่อาจจะมีการก่อกวนหรือเกิดการผิดผลาดได้  การถอดรหัสผู้ที่รับจะต้องรู้รหัสเพื่อเปิดข้อมูล ข้อความ หรือสินค้า

3.ประโยชน์และบทบาทของการสื่อสารข้อมูล หน้า 3

3
3.ประโยชน์และบทบาทของการสื่อสารข้อมูล
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกันคือ
1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก

2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจอง ที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทัน ที
4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันแลกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

4.นิยามของการส่งข้อมูลและลักษณะการทำงาน หน้า 4

4
นิยามของการส่งข้อมูล
        การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม
 การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร
       กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้
       รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น
       ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น
ลักษณะการทำงาน
       การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง
       ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน
        การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
       1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)
       ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร
       2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง
       จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้รับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต
       การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่ง
ข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ ใช้สัญญาณในการรับส่งข้อมูล สัญญาณเหล่านี้ถูกส่งจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย กำลังไฟฟ้า เสียง คลื่นวิทยุ แสงอินฟาเรด แสงที่มนุษย์มองเห็น แสงอัลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมาและรังสีคอสมิค ดังรูป
การสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้ใช้ทุกส่วนในแถบความถี่ รวมทั้งสื่อส่งข้อมูลที่ใช้ได้ยังมีเพียงไม่กี่ชนิด แถบความถี่ของคลื่นเสียง (ถัดจากคลื่นวิทยุลงไป) มักจะใช้สายทองแดงเป็นสื่อในการส่งผ่าน เช่น สายคู่บิดเกลียว หรือสายโคแอกเชียล ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ก็มักจะใช้สื่อชนิดนี้ ถัดมาก็เป็นคลื่นวิทยุที่มักนำไปใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายระยะไกล ส่วนแสงที่มนุษย์มองเห็นก็ถูกนำมาใช้เช่นกันคือถูกนำมาใช้ในสายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถจำแนกสื่อส่งข้อมูลได้ 2 ลักษณะคือ
1. สื่อส่งข้อมูลแบบใช้สาย
2.
สื่อส่งข้อมูลแบบไม่ใช้สาย
*กรณีของเครือข่ายระยะไกล จะมีเครือข่ายโทรศัพท์ ระบบ ISDN เครือข่าย packet switching
ส่วนในกรณีของระบบเครือข่ายแบบ WAN และอินเทอร์เน็ตนั้น มักจะเป็นสายเชื่อมต่อพิเศษที่มีความเร็วสูง หรือไม่ก็ใช้การส่งสัญญาณผ่านระบบไมโครเวฟ และดาวเทียม โดยมีเทคโนโลยีเฉพาะอีกหลายอย่างเช่น ATM (Asynchronous Transfer Mode) Frame Relay เป็นต้น
สรุปเนื้อหา
นิยามของการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม การส่งแบบขนานคือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมจะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบ
ลักษณะการทำงาน การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1.             การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission)
2.              2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)
การส่งข้อมูลนั้นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อนำและยังจะต้องมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบอีกด้วย
ในการส่งข้อมูล