วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

4.นิยามของการส่งข้อมูลและลักษณะการทำงาน หน้า 4

4
นิยามของการส่งข้อมูล
        การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม
 การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร
       กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้
       รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น
       ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น
ลักษณะการทำงาน
       การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง
       ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน
        การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
       1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)
       ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร
       2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง
       จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้รับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต
       การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่ง
ข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ ใช้สัญญาณในการรับส่งข้อมูล สัญญาณเหล่านี้ถูกส่งจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย กำลังไฟฟ้า เสียง คลื่นวิทยุ แสงอินฟาเรด แสงที่มนุษย์มองเห็น แสงอัลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมาและรังสีคอสมิค ดังรูป
การสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้ใช้ทุกส่วนในแถบความถี่ รวมทั้งสื่อส่งข้อมูลที่ใช้ได้ยังมีเพียงไม่กี่ชนิด แถบความถี่ของคลื่นเสียง (ถัดจากคลื่นวิทยุลงไป) มักจะใช้สายทองแดงเป็นสื่อในการส่งผ่าน เช่น สายคู่บิดเกลียว หรือสายโคแอกเชียล ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ก็มักจะใช้สื่อชนิดนี้ ถัดมาก็เป็นคลื่นวิทยุที่มักนำไปใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายระยะไกล ส่วนแสงที่มนุษย์มองเห็นก็ถูกนำมาใช้เช่นกันคือถูกนำมาใช้ในสายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถจำแนกสื่อส่งข้อมูลได้ 2 ลักษณะคือ
1. สื่อส่งข้อมูลแบบใช้สาย
2.
สื่อส่งข้อมูลแบบไม่ใช้สาย
*กรณีของเครือข่ายระยะไกล จะมีเครือข่ายโทรศัพท์ ระบบ ISDN เครือข่าย packet switching
ส่วนในกรณีของระบบเครือข่ายแบบ WAN และอินเทอร์เน็ตนั้น มักจะเป็นสายเชื่อมต่อพิเศษที่มีความเร็วสูง หรือไม่ก็ใช้การส่งสัญญาณผ่านระบบไมโครเวฟ และดาวเทียม โดยมีเทคโนโลยีเฉพาะอีกหลายอย่างเช่น ATM (Asynchronous Transfer Mode) Frame Relay เป็นต้น
สรุปเนื้อหา
นิยามของการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม การส่งแบบขนานคือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมจะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบ
ลักษณะการทำงาน การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1.             การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission)
2.              2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)
การส่งข้อมูลนั้นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อนำและยังจะต้องมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบอีกด้วย
ในการส่งข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น